ช่วง 2,500-1,300 ปีที่แล้ว
จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงให้เห็นว่า ขบวนคาราวานจากกรีกและโรมันได้เดินทางผ่านคอคอดกระ ส่วนที่แคบที่สุดของคาบสมุทรมลายูอยู่ในเขตจังหวัดระนองกับจังหวัดชุมพร ภาคใต้ของประเทศไทย ขบวนคาราวานได้เดินทางนำสินค้าจากฝั่งอันดามันไปยังฝั่งอ่าวไทย พบหลักฐานเป็นสิ่งประดิษฐ์ในยุคนั้นที่บริเวณเขาสก เช่น เครื่องปั้นดินเผาเปอร์เซีย เครื่องลายครามจีน เหรียญ และจารึกอินเดียโบราณ
ประมาณ พ.ศ.693 จังหวัดระนองเคยเป็นศูนย์รวมการค้าขายเครื่องเทศและสินค้าต่างๆ จากอินเดีย จีน ตะวันออกกลางและกระเทศฝั่งตะวันตก ทราบได้จากวัตถุโบราณต่างๆ ที่ถูกค้นพบนพื้นที่อำเภอกะเปอร์ของจังหวัดระนอง และอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธาน้ ซึ่งค้นพบครั้งนี้มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เป็นอย่างมาก เพราะได้ค้นพบเครื่องปั้นพระโพธิสัตว์ พระเครื่อง รวมถึงเหรียญเงินอาหรับด้วย
ปี 1800
ในช่วงการรุกรานพม่าของชายฝั่งทะเลอันดามันของไทยในศตวรรษที่ 18 เชื่อว่าในตอนนั้นชาวไทยที่อาศัยตามแนวชายฝั่งจำเป็นต้องอพยพไปยังเมืองตะกั่วป่าและไปยังเขาสก ซึ่งเป็นพื้นที่อุดมสมบูรณ์มีอาหารมากมาย เหมาะแก่การตั้งถิ่นฐานที่อยู่อาศัย จากข้อมุลพบว่าเริ่มมีการเพาะปลูก และทำไร่ทำสวนที่เขาสกในช่วงเวลานั้น
ปี 1970
ย้อนหลับไปในปี 1970 ครั้งมีเหตุประท้วงจากนักศึกษา และมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง นักศึกษาหลายชีวิตจากกรุงเทพได้หนีมายังเขาสกและอาศัยอยู่ในป่าลึกเพื่อหนีการจับกุมจากทหาร ในช่วงเวลานั้นเองก็มีการต่อต้านบริษัทข้ามชาติที่เข้ามาหาผลประโยชน์จากการตัดไม้ ป่าไม้จึงกลับมาฟื้นฟูและอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง
ปี 1980 – 1987
ในปี 1980 เขาสกได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอุทยานแห่งชาติ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตัดสินใจสร้างเขื่อนในพื้นที่แห่งนี้เพื่อผลิตไฟฟ้าใช้สำหรับพื้นที่ภาคใต้ และสร้างเขื่อนจนสำเร็จภายในระยะเวลาสองปีให้หลัง
เขื่อนรัชชประภามีความสูง 94 เมตร มีความยาวสันเขื่อนประมาณ 700 เมตร กั้นน้ำจากคลองพระแสง จนก่อให้เกิดทะเลสาบขนาดใหญ่ 165 ตารางกิโลเมตร ชาวบ้าน 385 ครอบครัวและสัตว์ป่า 1,364 ตัวที่อยู่อาศัยในบริเวณนั้นทยอยได้รับการช่วยเหลือจากทางการในการอพยพไปยังพื้นที่อื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาในปี 1995 ก็พบว่าการสร้างเขื่อนครั้งนี้ทำให้ปลากว่า 52 สปีชี่สูญหายไปจากพื้นที่เพราะไม่สามารถปรับตัวให้เข้ากับแหล่งน้ำได้
เมื่อก่อนสร้างแล้วเสร็จ ก็ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระราชทานนามให้ใหม่ว่า “เขื่อนรัชชประภา”